โรงงานอุตสาหกรรมฟังไว้ เสียงแบบไหนทำให้เสี่ยง “หูตึง”!!
หัวใจสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมนอกจากเครื่องจักรแล้ว “พนักงาน” หรือบุคลากรคุมเครื่องจักร ถือได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะหากปราศจากซึ่งพวกเขาแล้ว โรงงานอุตสาหกรรมก็คงขับเคลื่อนไปไม่ได้ หรือขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เหมือนกับรถที่ไร้คนขับ อย่างไรเสียก็ไปไม่ถึงจุดหมาย
ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการดูแลบุคลากรคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญ โดยเพราะเรื่องของเสียงรบกวนและเสียงดังที่เกิดขึ้นในโรงงานนั้น นอกจากจะมีผลต่อสภาพจิตใจแล้ว หากได้รับเสียงดังเป็นระยะเวลายาวนั้นต่อเนื่อง อาจส่งผลให้หูตึงหรือสูญเสียการได้ยินได้
เสียงดังในโรงงาน
ลักษณะของเสียงที่สามารถทำให้บุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรมเสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน หรือ หูตึง นั้น ได้แก่เสียงลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
เสียงแบบไหนทำให้เสี่ยงหูตึง
1. เสียงที่มีระดับความดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งยิ่งได้รับเสียงดังระดับนี้ยาวนานต่อเนื่องแค่ไหน บ่อยแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้เสี่ยงหูตึงได้มากขึ้นเท่านั้น
2. เสียงแหลม หรือเสียงที่มีความถี่สูง จะเป็นลักษณะของเสียงที่ทำให้เรามีโอกาสสูญเสียการได้ยินมากกว่าเสียงทุ้ม หรือเสียงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งก็เช่นกันคือ หากได้รับเสียงแหลมบ่อยๆ นานๆ ดังๆ ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากขึ้น
3. เสียงปัง!! แบบฉับพลัน ในลักษณะเป็นเสียงกระแทก หรือเสียงระเบิด โดยเสียงดังลักษณะแบบนี้จะสามารถทำลายระบบประสาทการได้ยินของคนเราได้มากกว่าการได้ยินเสียงรบกวนแบบต่อเนื่อง คืออาจทำให้เกิดภาวะหูดับ และหนวกตึงได้เลยในทันที
ลักษณะของเสียงทั้ง 3 ดังกล่าว คือลักษณะของเสียงที่มีโอกาสทำให้บุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม หรือคนที่อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากที่สุด ซึ่งนอกจากเรื่องของลักษณะเสียงแล้ว ยังมีตัวแปรสำคัญ อีก 2 ข้อ ที่จะทำให้ใครคนใดคนหนึ่งเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากขึ้น ซึ่งได้แก่
- ระยะเวลาในการได้ยินเสียง โดยบุคลากรที่ได้รับเสียงยาวนานกว่า หรือมีชั่วโมงการทำงานที่ต้องอยู่กับมลภาวะทางเสียงนานกว่า จะมีโอกาสเสี่ยงสูญเสียการได้ยินได้มากกว่า
- ความไวต่อเสียงที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเอง โดยสำหรับคนที่มีประสาทรับเสียงที่ดีกว่า จะรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญได้ง่ายกว่า ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้น เขาก็จะตอบสนองต่อเสียงและได้รับผลกระทบที่มากกว่า และมีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากกว่านั่นเอง
ฉนวนกันเสียง: ประเภทของเสียงที่ทำให้เกิดอันตรายในโรงงาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/