เคล็ดลับออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ช่วยบ้านเย็นสบายตลอดทั้งปี ไม่ร้อน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดค่าไฟ แถมประหยัดเงินในระยะยาว แนวทางในการสร้างบ้านหรือปรับปรุงบ้านให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
หลายคนกลัวค่าไฟพุ่งจึงมองหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน แต่รู้ไหมคะว่าความจริงแล้ว เราสามารถลดการใช้ไฟ และลดการใช้เงินลงได้ง่าย ๆ ตั้งแต่เริ่มออกแบบบ้าน เพราะไม่ว่าจะโครงสร้าง หลังคา หน้าต่าง หรือทิศทาง ต่างก็มีผลต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว สำหรับตอนนี้ใครที่แผนจะสร้างบ้าน ปรับปรุงบ้านใหม่ หรืออยากทำให้บ้านเย็นสบายตลอดทั้งปี ไม่ร้อน น่าอยู่ และร่มรื่นแล้วะก็ตามดูวิธีออกแบบบ้านประหยัดพลังงานกัน ทั้งการตกแต่งภายใน วางทิศทางของบ้านให้สอดรับกับทิศทางลม รวมไปถึงการจัดพื้นที่สีเขียว
หลังคาและฝ้าเพดาน
1. เลือกใช้กระเบื้องหลังคาที่ช่วยสะท้อนหรือป้องกันความร้อน
2. มุงหลังคาให้ชันเป็นมุม 45 องศา เพื่อช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนลงฝ้าเพดาน
3. บุฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
4. ใช้ฝ้าที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี
5. ทำช่องระบายอากาศที่หน้าจั่วหลังคา เพื่อช่วยระบายอากาศจากใต้หลังคาและในบ้าน
6. ยกระดับฝ้าเพดาน เพื่อดันความร้อนให้ระบายออกทางช่องระบายอากาศหรือช่องเปิดใต้หลังคา
ผนัง
1. ใช้วัสดุกันความร้อน เช่น ฉนวนกันความร้อนสำหรับผนัง
2. ผนังในบ้านเลือกที่มีมวลน้อยและสีอ่อน
3. ผนังนอกบ้านเลือกที่ผิวมัน สีอ่อน และมีค่าจุความร้อนต่ำ
หน้าต่าง
1. ทำช่องแสงบนหน้าต่างให้กับตัวบ้านชั้นล่าง เพื่อช่วยให้บ้านได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติตลอดทั้งวัน
2. หน้าต่างควรสูงจากพื้น 4 เมตร หรือตรงกับความสูงของเก้าอี้/เตียงนอน เพื่อช่วยให้ลมพัดผ่านตัวคน
3. เลือกใช้กระจกกันความร้อน เพื่อช่วยให้บ้านเย็นลงโดยไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
ทิศทางของบ้าน
ทิศเหนือกับทิศใต้
1. เหมาะจะเป็นทิศหน้าบ้านหรือหลังบ้าน เพราะลมพัดผ่านตลอด โดยคนไทยจะนิยมหันหน้าไปทางทิศใต้มากที่สุด เพราะลมโกรกตลอดปี เมื่อเปิดประตูและหน้าต่างก็จะทำให้ถ่ายเทอากาศในบ้านดีขึ้น ช่วยให้บ้านเย็นสบายแม้ช่วงหน้าร้อน
2. ในส่วนของหน้าต่างติดกันสาด หรือทำชายคาให้ยาวเกินออกมา เพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด แต่ภายในบ้านยังคงสว่างตลอดทั้งวัน
ทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก
1. เหมาะจะเป็นพื้นที่ในวางการแปลนห้องน้ำ ซึ่งเป็นห้องที่มีความชื้นและความเย็น ก็ช่วยลดอุณหภูมิของบ้านจากความความร้อนของแสงแดดได้อีกทางหนึ่ง
2. หลีกเลี่ยงการทำช่องเปิด เพื่อลดการรับลมร้อนและรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ แต่หากมีของเดิมอยู่แล้ว การติดสาดเพิ่ม ก็จะช่วยลดอุณหภูมิได้
3. ควรทำบังเงาให้กับผนังทึบที่อยู่ทางสองทิศนี้ เช่น ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา
พื้นที่สีเขียว
1. ปลูกต้นไม้ให้ได้ประมาณ 20% ของพื้นที่ เพื่อช่วยกรองมลพิษ ทำให้อากาศสดชื่น แต่ต้องระวังอย่าปลูกบังทิศทางลมเข้าบ้าน เช่น ไม้ยืนต้นให้ร่มเงา ไม้เลื้อย และไม้ฟอกอากาศ
2. ปลูกหญ้าที่ลานว่างรอบบ้าน เพื่อช่วยเก็บความชื้นและลดการสะท้อนแสง
พื้นที่อเนกประสงค์
ออกแบบบ้านให้มีพื้นที่กึ่งเปิด หรือพื้นที่ที่ลมพัดผ่านได้ดี เช่น ระเบียงบ้าน ใต้ถุนบ้าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในครอบครัวแบบไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
1. เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นและวางชิดติดผนังบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ขวางทิศทางลม
2. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ใช้งานได้นาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย รวมถึงประหยัดเงินและประหยัดไฟด้วย โดยสังเกตง่าย ๆ จากฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และฟังก์ชั่นหรือเทคโนโลยีภายในเครื่องอย่างระบบ Inverter รวมถึงกำลังไฟก็จะช่วยประหยัดไฟได้อีกทาง
มาถึงตอนนี้คงเห็นแล้วว่า จริง ๆ การสร้างบ้านให้ประหยัดเงินและประหยัดพลังงานไม่ใช่เรื่องยากเลย ฉะนั้นใครอยากได้บ้านที่รักษ์โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมละก็ อย่าลืมนำเคล็ดลับออกแบบบ้านเหล่านี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ
วิธีออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน เย็นสบาย ไม่ร้อน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/