การให้อาหารทางสายยาง คือ การที่ทำให้อาหารที่ถูกผลิตในรูปแบบของเหลวไหลผ่านทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารต่างๆ และน้ำ ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เหมือนคนปกติทั่วไป
โดยการให้อาหารทางสายยางนั้น จะใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองหรือมีปัญหาในการกลืนกิน
ตามหลักการแล้วอาหารทางสายยางจะต้องมีอาหารครบตามหลักโภชนาการทั้ง 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต (ข้าว , แป้ง , น้ำตาล) โปรตีน (เนื้อสัตว์ , ไข่ , นม , ถั่ว) ไขมัน (น้ำมัน , ไขมันสัตว์) เกลือแร่ และวิตามิน (ผักผลไม้ต่างๆ) โดยต้องมีสัดส่วนที่เป็นมาตรฐานที่ร่างกายจำเป็ต้องได้รับในแต่ละวัน คือ คาร์โบไฮเดรต 40-50% โปรตีน 20-30% ไขมัน 10-20% เกลือแร่ และวิตามิน 10%
โดยทางเราซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการงานสนับสนุนต่างๆในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานสากล ทางด้านอาหารในกลุ่มโรงพยาบาลชั้นนำภายใต้มาตรฐานระดับโลก จึงทำให้เราคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยเหมาะสม และปริมาณที่เป็นมาตรฐานตามหลักการแพทย์อย่างเข้มงวด สูตรอาหารปั่นผสมนั้นจะมีความหลากหลายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละบุคคล
แต่ในวันนี้เราจะขอมาบอกรายละเอียดเล็กๆน้อยๆถึงความแตกต่างที่ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยควรจะได้ทราบเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ ตำแหน่งในการให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วย ที่มีความแตกต่างกัน และวิธีปฏิบัติพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยที่ท่านรักนั้น แข็งแรงสมบูรณ์อีกครั้งด้วยอาหารที่มีคุณภาพต่อร่างกายย่างแท้จริง
วิธีปฏิบัติการให้อาหารทางจมูก และ การให้อาหารทางสายที่ใส่ผ่านหน้าท้อง ?
การให้อาหารสายยางทางจมูก ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
– บอกผู้ป่วยให้ทราบทุกครั้งก่อนที่จะทำการให้อาหาร
– ถ้าหากว่าผู้ป่วยยังสามารถลุกนั่งได้ควรให้อยู่ในท่านนั่ง แต่หากว่าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ควรจัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง หรือกึ่งนั่งกึ่งนอน หากว่าเป็นผู้ป่วยในรายที่ทำการเจาะคอ ควรดูดเสมหะออกก่อนให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มทำการให้อาหาร
– ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งและควรเช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด เพราะความสะอาดคือสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ในการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง
– เช็ดปลายสายยางด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ให้สะอาด และต้องดูให้สายยางอยู่ในตำแหน่งเดิม แนะนำว่าควรทำตำแหน่งไว้ที่สายยาง
– ทดลองลูกสูบว่าสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ ถ้าสายยางเข้าที่แล้วเมื่อดูดจะมีน้ำย่อยออกมา
– ให้ทำการดูดอาหารที่ค้างอยู่ในส่วนของกระเพาะอาหารออกมา ถ้าดูดออกมามีมากกว่า 50 cc. ให้ใส่กลับเข้าไปแล้วรอเวลาประมาณ 1 ชม. และให้ลองดูดใหม่อีกครั้ง หากว่ายังมีอาหารค้างมากเหมือนเดิม ให้งดอาหารมื้อนั้น เนื่องจากระบบย่อยอาหารอาจจะทำงานได้ไม่ดี
– ให้พับสายยาง แล้วเริ่มเทอาหารลงไป และควรปลดพับสายยางช้าๆเพื่อให้อาหารไหลผ่านเข้าไปอย่างช้าๆ โดยกระบอกใส่อาหารจะต้องอยู่ในส่วนที่สูงกว่าหน้าอก คอยเติมอาหารต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดลมเข้าไปในพื้นที่ว่าง คอยสังเกตอาการผิดปกติไปด้วย เช่น ผู้ป่วยสำลัก หรืออาเจียน ให้หยุดในทันที
– เตรียมยาหลังอาหารให้พร้อม ถ้าเป็นยาเม็ดให้บดละเอียด และละลายน้ำให้เข้ากัน เทใส่กระบอกแก้งหลังจากให้อาหาร พร้อมตามด้วยน้ำประมาณ 50 CC
– เหมื่อเสร็จแล้วให้ยกปลายสายยางให้สูง เพื่อให้อาหารที่ยังติดค้างไหลลงกระเพาะให้หมด แล้วปิดจุกยางให้แน่น ทำความสะอาดปลายสายยางอีกครั้งด้วยสำรีชุบแอลกอฮอล์
– เมี่อทำทุกอย่างเสร็จหมดแล้วให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า นอนหงานศีรษะสูง 60 องศา ประมาณ 30 นาที เพื่อป้องกันการไหลย้อยกลับของอาหาร
การให้อาหารสายยางทางหน้าท้อง ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
– ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
– เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อมตามหลักการรักษา
– บอกให้ผู้ป่วยทราบ
– จัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูง อย่างน้อย 30-60 องศา
– เปิดจุกให้อาหาร แล้วเช็ดรูเปิดด้านนอกด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
– สวมปลาย Asepto Syringe เข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารให้แน่น
– เปิด clamp สาย gastrostomy ดูดเช็คอาหารตกค้าง
– พับสาย gastrostomy แล้วปลด Asepto Syringe ออก
– สวมปลาย Asepto Syringe เข้ากับรูของสายที่ทำการพับอยู่
– เริ่มให้อาหารปั่นผสมอย่างช้าๆ และเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการเข้าของอากาศ
– เมื่ออาหารใกล้จะหมด ให้ใช้ไซริงค์รินน้ำประมาณ 30-50 มล.
– เมื่อเสร็จแล้วให้พับสาย gastrostomy แล้วปลด Asepto Syringe ปิด clamp สาย gastrostomy ให้แน่น
– ปิดจุกปลายสาย จัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวาศีรษะสูง ประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นอันเสร็จสิ้น
วิธีปฏิบัติการให้อาหารสายยางผู้ป่วย ทางจมูก กับหน้าท้อง แตกต่างกันอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/